นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันวิจัยและผลิตนวัตกรรม ‘โมเลกุลมณีแดง’ หรือ RED–GEMs (REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules) นวัตกรรมต้านเซลล์ชรา ซึ่งเป็นครั้งแรกของโลกที่ค้นพบ ถ้าประสบความสำเร็จเป็นที่ได้ตั้งเป้าหมายผลิตในเชิงพาณิชย์ จะเป็นโอกาสดีที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ที่ได้คิดค้นนวัตกรรมเป็นของไทยเอง เป็นการมุ่งสร้างธุรกิจ New S-Curve หรืออุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ และยังเป็นตัวจุดประกายที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร (เมดิคัล ฮับ) อีกด้วย
“ถ้าการพัฒนางานวิจัยและผลิตนวัตกรรมโมเลกุลมณีแดง เป็นไปตามคาดหวัง จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับประเทศไทยก้าวไปอีกขั้น เพราะหากตัวนี้สำเร็จ เกิดทางการค้า หรือเชิงพาณิชย์ได้ จะเกิดการรับรู้ของทั่วโลก ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ และจะไม่ใช่มณีแดงตัวเดียวแล้ว ยังส่งผลต่องานวิจัยต่างๆ แต่ละที่ทำมาจะได้รับความสนใจในการที่จะช่วยกันยกระดับ เป็นการสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของ ปตทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. และอินโนบิก (เอเซีย) เข้ามา”
สำหรับงบประมาณที่ใช้เบื้องต้นประมาณ 150 ล้านบาท ซึ่ง ปตท. ให้คำมั่นกับคณะวิจัยว่า เราจะเดินพร้อมไปด้วยกัน เดินไปให้สุด ทรัพยากรใดๆ ที่ต้องการสนับสนุน เพื่อให้ได้สปีดและขั้นตอนที่ถูกต้อง เราพร้อมสนับสนุนเต็มที่ เพราะเป็นการสร้าง New S-Curve ให้กับประเทศ จึงต้องไปด้วยกันไปให้สุด สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร Powering Life with Future Energy and Beyond ที่มุ่งสร้างคุณค่าให้แก่สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ปตท. และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ขยายความว่า ประเทศไทย กำลังก้าวสู่สังคมสูงวัย เป็นโอกาสสำคัญที่ค้นพบโมเลกุลมณีแดง ซึ่งอินโนบิก (เอเซีย) มีเป้าหมายเร่งสร้างการพัฒนานวัตกรรมของคนไทยให้เทียบชั้นระดับสากล โดยความร่วมมือครั้งนี้ มีส่วนช่วยในการสนับสนุนนักวิจัยของอินโนบิก (เอเซีย) มาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รวมทั้งให้คำปรึกษาเชิงพาณิชย์ และการวิจัยในขั้นต่อๆ ไป เช่น การวิจัยในลิง หรือการวิจัยมนุษย์ พร้อมทั้งการจดทะเบียน จดสิทธิบัตร เป็นประเด็นที่บริษัทยาต่างๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญ รวมถึงด้านไอที การตลาด มองหาโอกาสทางธุรกิจโมเลกุลมณีแดงสามารถทำอะไรได้บ้าง ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นความมือของไทย 100% และจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร และพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน (Wellness)
“งานวิจัยนี้ ถือเป็นความลับทางชีววิทยา ที่สามารถแตกยอดได้อีกหลายอย่าง ต้องวิจัยต่อยอดไปอีก โดยคณะแพทย์ คณะเภสัชฯ จุฬาฯ จะช่วยเรา และอินโนบิก (เอเซีย) จะนำเรื่องนี้ไปพูดในตลาดโลก ต้องสื่อสารให้ตลาดโลกรับรู้ และยอมรับด้วย เป็นคอนเซ็ปต์ปริศนาทางวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นโดยคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันการขยายเชิงพาณิชย์สู่อุตสาหกรรม จะปรึกษานักวิจัยอย่างใกล้ชิด วางแผนทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์ด้วย และสามารถต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมต่างๆได้”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร อาจารย์ประจำคณะกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกของโลก ที่ได้ค้นพบกลไกต้นน้ำของความชราสู่การพัฒนา “โมเลกุลมณีแดง” โดยทั่วไปในดีเอ็นเอ จะมีรอยแยก อยู่บริเวณที่มีดีเอ็นเอแมดทิเลชัน (DNA Methylation) เป็นที่มาของโมเลกุลมณีแดง มีบทบาทในการช่วยปกป้องดีเอ็นเอและป้องกันความแก่ชราในดีเอ็นเอ โดยเมื่อมนุษย์อายุมากขึ้น รอยแยกดีเอ็นเอจะลดลง เราจึงพบรอยโรคในดีเอ็นเอของเซลล์ที่แก่ชราแล้วเยอะขึ้น จะส่งสัญญาณให้เซลล์หยุดการแบ่งตัวตามปกติและเข้าสู่ความแก่ชรา รวมถึงอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์และโรคมะเร็งได้ ซึ่งโมเลกุลมณีแดง คือ ยีนที่มีหน้าที่เป็นกรรไกร เพื่อสร้างรอยแยกดีเอ็นเอ เซลล์ที่ได้รับมณีแดงจะมีดีเอ็นเอที่แข็งแรงขึ้น และทำให้เซลล์ที่เสื่อมลงแล้วกลับมาดีขึ้น
“จากการค้นพบนำไปสู่การวิจัยและพัฒนา จนเข้าสู่การทดสอบในสัตว์ คือ หนู หมู และลิง โดยได้ทดสอบกับหนูวัยชราที่มีแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้ พบว่าหนูวัยชรากลับเป็นหนูที่มีความแข็งแรงและกระตือรือร้นขึ้น ทั้งการทำงานของ สมอง ตับ และไต ในส่วนของไขมันในช่องท้องและพังผืดในตับได้ลดหายไปด้วย ด้านแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้หายดี ไม่มีผลข้างเคียง และทีมวิจัยยังได้ทดสอบในหมูแรกเกิด และทดสอบคุณภาพเนื้อเมื่อมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม พบว่ามีเนื้อสัมผัสที่นุ่มขึ้น แน่นขึ้น ปัจจุบันโครงการได้ทดสอบในลิงแสม และหนูที่เป็นโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และปอดเป็นพังผืด ขณะนี้ได้ทดสอบมณีแดงกับลิงแสมแล้ว 3 เข็มในระยะเวลา 3 สัปดาห์ จากที่วางแผนไว้ 8 เข็ม ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยลิงแสมทุกตัวปลอดภัยดี และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ต่อไปจะเริ่มทดสอบในคน คาดว่า จะรู้ผลได้ประมาณปลายปี 66 หากสำเร็จระยะแรกอาจทำเป็นครีมทาหน้า หรือรักษาแผลไฟไหม้ก่อนวิจัยไปถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ” ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย